วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา


        กรุงศรีอยุธยามีพระมหากษัตริย์ปกครองทั้งหมด ๓๔ พระองค์ จาก ๕ ราชวงศ์ได้แก่ ราชวงศ์อู่ทอง สุพรรณบุรี สุโขทัย ปราสาททอง และบ้านพลูหลวง ตามที่ปรากฎใน"พระราชพงศาวดารฉบับพระราช หัตถเลขา",๒ เล่ม ทั้งนี้บางแห่งนับพระมหากษัตริย์อยุธยาว่ามีเพียง ๓๓ พระองค์ โดยไม่นับว่า "ขุนวรวงศาธิราช"เป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ราชวงศ์อู่ทอง/สุพรรณบุรี



๑.สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)
     พระองค์ทรงเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรอยุธยา เป็นต้นราชวงศ์อู่ทอง ครองราชย์ปี พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒ เสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ ๕๕ พรรษา
๒.พระราเมศวร
      กษัตริย์องค์ที่ ๒ ของอยุธยา ทรงโอรสของพระเจ้าอู่ทอง พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ ๒ ครั้ง ครั้งแรกปี พ.ศ.๑๙๑๒-๑๙๑๓ ครั้งที่สองปี พ.ศ.๑๙๓๑-๑๙๓๘๓.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)
     พระองค์ทรงเป็นเจ้าเมืองสุพรรณบุรีมาก่อน และเป็นต้นราชวงศ์สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพระเจ้าลุงของพระราเมศวร เมื่อพระเจ้าอู่ทอง สวรรคต และพระราเมศวรขึ้นเป็นกษัตริย์ ต่อมาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จเข้ามาอยุธยา พระราเมศวรจึงต้องถวาย ราชสมบัติย์ให้ เนื่องจากการสืบราชสมบัติในสมัยนั้นมีการช่วงชิงกันระหว่าง ๒ ราชวงศ์คือ ราชวงศ์อู่ทองและสุพรรณบุรี พระองค์อยู่ในราชสมบัติ ๑๘ ปี๔.พระเจ้าทองลั่น
     ทรงเป็นโอรสของพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) มีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา ครองราชสมบัติอยู่ได้เพียง ๗ วัน พระราเมศวรก็เสด็จยกทัพมาจากเมืองลพบุรี และสำเร็จโทษพระเจ้าทองลั่นด้วยท่อนไม้จันทร์ แล้วขึ้น เป็นกษัตริย์แทน๕.พระรามราชาธิราช
     ทรงเป็นโอรสของพระราเมศวร เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อู่ทอง ครองราชย์เมื่อปี พ.ศ ๑๙๓๘-๑๙๕๒ หลังจากถูกชิงราชสมบัติ พระองค์ถูกนำไปจองจำราชวงศ์สุพรรณบุรี
๖.สมเด็จพระนครินทราธิราช
     เป็นกษัตริย์จากราชวงศ์สุพรรณบุรี ทรงเป็นพระนัดดาของพระบรมราชาธิราชที่ ๑ พระองค์ทรงมีโอรส ๓ พระองค์ คือ เจ้าอ้าย (องค์โต) เจ้ายี่ (องค์รอง) และเจ้าสามพระยา เมื่อพระองค์สวรรคต โอรสทั้ง ๓ ก็แย่ง ราชสมบัติกัน โดยที่เจ้าอ้ายกับ เจ้ายี่ ทำการชนช้างกันและสิ้นพระชนย์ทั้งคู่ เจ้าสามพระยาขึ้นเป็นกษัตริย์แทน๗.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา)
    พระองค์ทรงครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๑๙๖๗-๑๙๙๑ พระองค์ทรงเป็นผู้ดำเนินนโยบายในการขยายอำนาจของอยุธยาโดยแผ่อำนาจ ไปทางแถบกัมพูชา และที่ราบสูง โคราช ทรงปูทางในการรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้ากับอยุธยา และสามารถรวมแว้นแคว้นต่างๆ ให้ อยู่ภายใต้ อำนาจเดียวกัน
๘.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
      ทรงเป็นโอรสของเจ้าสามพระยา ขึ้นครองราชสมบัติเมื่ออายุได้เพียง ๑๗ พรรษา และเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์ ได้นานที่สุดคือ ๔๐ ปี ทรงเป็นผู้รวมอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นอันหนึ่งเดียวกับอยุธยา และปฏิรูปการปกครองด้วยการ ตั้งระบบศักดินาและการจัดระบบขุนนาง ให้เป็น ๒ ฝ่ายคือ กลาโหมและมหาดไทย
๙.สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (อินทราธิราชที่ ๒ )
     ทรงเป็นโอรสของพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์เมื่อปี พ.ศ ๑๐๓๑-๒๐๓๔๑๐.สมเด็จพระรามาธิบดีที่
      ทรงเป็นอนุชาของพระบรมราชาธิราชที่ ๓ ครองราชย์เมื่อปี พ.ศ ๒๐๓๔-๒๐๗๒๑๑.สมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร
       ทรงเป็นโอรสของพระรามาธิบดีที่ ๒ ครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๗๒-๒๐๗๖สิ้นพระชนม์เนื่องจากเป็นไข้ทรพิษ
๑๒.พระรัษฎาธิราชกุมาร
      ทรงเป็นโอรสของพระบรมหน่อพุทธางกูร ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุเพียง ๕ พรรษา ถูกพระไชยราชาธิราช ยึดอำนาจ หลังการครองราชย์ได้ ๕ เดือน และถูกนำไปสำเร็จโทษ๑๓.สมเด็จพระไชยราชาธิราช
       ทรงเป็นโอรสของพระบรมหน่อพุทธางกูร อันเกิดแต่นางสนม พระองค์ขึ้นครองราชย์โดยการยึดอำนาจจาก พระรัษฎาธิราชกุมาร ทรงมีพระโอรส ๒ พระองค์คือ พระยอดฟ้าและพระศรีศิลป์ ซึ่งเป็นโอรสอันเกิดแต่นางสนม เอกศรีสุดาจันทร์ สิ้นพระชนม์เพราะถูกลอบวางยาพิษ ๑๔.พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า)
       พระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้เพียง ๑๑ พรรษา ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์ ครองราช สมบัติโดยมีพระแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์อยู่ในฐานะ"พระชนนีเป็นผู้ช่วยบริหารราชการแผ่นดิน"๑๕.ขุนวรวงศาธิราช
      พระแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ได้ "ราชาภิเษกขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นเจ้าพิภพ" กษัตริย์องค์ที่ ๑๕ และหลังจาก ขุนวรวงศา เป็นกษัตริย์แล้ว จึงนำเอาพระยอดฟ้าอดีตกษัตริย์ไปประหารชีวิตที่วัดโคกพระยา ขุนวรวงศาเป็นกษัตริย์ ได้เพียง ๔๕ วัน คือระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ.๒๐๙๑ ถูกฝ่ายขุนพิเรนทรเทพและคณะยึดอำนาจฆ่าตาย (พงศาวดารบางเล่ม ไม่นับขุนวรวงศาเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ) ๑๖.สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา)
      ทรงเป็นอนุชาต่างมารดาของพระไชยราชาธิราช ทรงขึ้นครองราชย์โดยคณะขุนนางทำการยึดบัลลังค์ จากขุนวรวงศาธิราชและ พระแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ คณะขุนนางอัญเชิญ "พระเทียนราชา" ให้ปริวรรตลา พระผนวช ขึ้นครองราชโดยปราบดาภิเษก ครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑-๒๑๑๑ โดยทั่วไปเชื่อกันว่าพระองค์ทรง ครองราชย์ได้ยาวนานถึง ๒๐ ปี จึงสละราชบัลลังก์ให้แก่พระมหินทราธิราชพระโอรส หลังจากนั้น ๘ เดือน จึงเสีย กรุงให้แก่พม่า พระหมาจักรพรรดิทรงมีพระโอรสและพระธิดากับพระสุริโยทัยรวม ๔ พระองค์คือพระราเมศวร พระมหินทราธิราช พระวิสุทกษัตรีย์และพระเทพกษัตรีย์ ๑๗.สมเด็จพระมหินทราธิราช
      ทรงเป็นโอรสองค์ที่ ๒ ของพระมหาจักรพรรดิ เนื่องจากพระราเมศวรโอรสองค์แรกซึ่งมีสิทธิจะได้ ราชสมบัติย์ต่อจากพระมหาจักรพรรดิ ในปี พ.ศ.๒๑๐๖ อยุธยาแพ้สงครามพม่า พระราเมศวรจึงถูกจับไป เป็นเชลยพม่า และสิ้นพระชนม์ลงระหว่างทาง ที่เชียงใหม่ ตามที่ปรากฏในพงศาวดารฉบับราชหัตถเลขา(เล่ม ๑) พบว่า พระมหินทราธิราชครองราชย์ ๒ สมัยด้วยกัน โดยระบุว่า พระมหาจักรพรรดิสมัยครองราชย์ ครั้งแรก หลังสงครามช้างเผือกกับพม่า จึงมอบเวนราชสมบัติแก่พระมหินทราธิราช เมื่อครองราชย์อยู่ ๒ ปี เกิดศึกกับพม่า ครั้งที่ ๓ จึงถวายราชสมบัติคืนแก่พระบิดาและหลังจากนั้นไม่นาน พระมหาจักรพรรดิก็ประชวรและสวรรคต พระมหินทราธิราชจึงขึ้นครองราชย์ เป็นครั้งที่ ราชวงศ์สุโขทัย
๑๘.สมเด็จพระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ)
      ทรงเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยทางพระราชบิดา และเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณบุรีทางพระราชมารดา พระองค์ปกครองอยุธยาใน ฐานะเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลา ๑๕ ปี พระมหาธรรมราชาเดิมเป็นขุนนาง มีบรรดาศักดิ์ว่า "ขุนพิเรนทรเทพ" และเมื่อ ขุนวรวงศายึด บัลลังก์จากราชวงศ์สุพรรณบุรี พระมหาธรรมราชา ทรงเป็นกำลังสำคัญร่วมมือกับพระมหาจักรพรรดิ ทำการยึดอำนาจคืนมาและได้เสก สมรสกับพระราชธิดาของ พระมหาจักรพรรดิ คือพระวิสุทธิกษัตริย์ มีโอรส-ธิดา ๓ พระองค์ คือ พระสุพรรณกัลยา พระนเรศวร และ พระเอกาทศรถ ๑๙.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
      พระองค์ทรงเป็นโอรสของพระมหาธรรมราชา และทรงเป็น "วีรกษัตริย์" ผู้กอบกู้เอกราชให้กับอยุธยา ซึ่งตกเป็นเมืองขึ้นพม่าอยู่ ๑๕ ปี เมื่อพระชนมายุได้ ๙ พรรษา พระองค์ถูกส่งไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดี พระองค์ทรงอยู่ในฐานะ"โอรสบุญธรรม" ของกษัตริย์ พม่า ถึง ๗ ปี ครั้นเมื่อพม่ายึดอยุธยาได้เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ พระมหาธรรมราชาขึ้นครองราชย์ในฐานะเมืองขึ้น พระนเรศวรจึงเสด็จ กลับอยุธยา พระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ทั้งนี้พระมหาธรรมราชาส่งพระสุพรรณกัลยาไปเป็นตัวประกันแทน พระนเรศวรได้รับสถาปนา ให้เป็นเจ้าเมือง พิษณุโลก มีตำแหน่งเป็น "วังหน้า" และในปี พ.ศ.๒๑๒๔ พระเจ้านันทบุเรงกษัตริย์พม่าสวรรคต ราชวงศ์ตองอู ทำท่าจะแตกสลาย พระนเรศวรได้เสด็จไปงานพระศพของกษัตริย์พม่าและทรงทราบดีถึงโอกาสที่อยุธยาจะได้เป็น เอกราช ดังนั้นในปี พ.ศ.๒๑๒๗ พระนเรศวรจึงประกาศ "อิสรภาพ" ของอยุธยา พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๑๓๓ เมื่อพระราชบิดาสวรรคต และทรงแผ่ อำนาจออกไปอย่างกว้างขวางพระนเรศวรทรงสวรรคต ที่เมืองหาง รัฐฉานในพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๘ พระชนม์พรรษาได้ ๕๐ ปี๒๐.สมเด็จพระเอกาทศรถ
     ทรงเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเอกาทศรถได้รับยกย่องในฐานะเท่าเทียมกับพระนเรศวร เนื่องจากทรงร่วมรบ กับพระนเรศวรมาตลอด ในสมัยพระองค์ ทรงเน้นการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ พระเอกาทศรถขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๑๔๘ ทรงครองราชย์ได้เพียง ๕ ปี พระองค์ก็สวรรคต พระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา
๒๑.พระศรีเสาวภาคย์
     ทรงเป็นโอรสองค์ที่ ๒ ของพระเอกาทศรถ ที่เกิดจากพระมเหสี เนื่องจากพระเจ้าฟ้าสุทัศน์ ซึ่งมีสิทธิได้ครอง ราชสมบัติ ถูกข้อหาขบถต่อพระราชบิดา(พระเอกทศรถ) จึงต้องเสวยยาพิษและสิ้นพระชนม์ไปก่อน พระศรีเสาวภาคย์เป็นเจ้าฟ้าที่มีพระเนตรข้างเดียว พระองค์อยู่ในราชสมบัติเพียง ๑ ปี กับ ๒ เดือน ก็ถูกพระเจ้าทรงธรรมยึดอำนาจและประหารชีวิตในที่สุด๒๒.สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
      ทรงเป็นโอรสของพระเอกาทศรถอันเกิดจากพระสนม ในขณะที่พระเอกาทศรถจะเสด็จสวรรคต พระเจ้าทรงธรรมทรงผนวชอยู่ ที่วัดระฆัง มีลูกศิษย์ลูกหาและขุนนางข้าราชการชมชื่นอยู่มาก ทำให้สามารถ ซ่องสุมกำลังเข้ายึดอำนาจได้ พระองค์ครองราชย์อยู่ ๑๘ ปี หลังจากนั้น ก็ทรงประชวรและสวรรคตในปี พ.ศ.๒๑๗๑ พระชนมายุได้ ๓๘ พรรษา และปัญหาการสืบราชสมบัติก็คล้ายๆ กับตอนที่ พระองค์ขึ้นครองราชย์๒๓.สมเด็จพระเชษฐาธิราช
      ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าทรงธรรม เมื่อพระเจ้าทรงธรรมสวรรคต เกิดปัญหาการสืบราชสมบัติย์ ขุนนางแยกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือ เจ้าพระยามหาเสนา สนับสนุนพระศรีศิลป์(พระอาทิตยวงศ์) อีกฝ่ายหนึ่ง คือเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (เจ้าฟ้าปราสาททอง) สนับสนุน พระเชษฐาธิราช และฝ่ายพระเชษฐาธิราชก็ได้ชัยชนะขึ้น ครองราชสมบัติ มีชนมายุ ๑๔ พรรษา และเมื่อครองราชย์ได้ ๑ ปี ๗ เดือนเกิดความขัดแย้งกับเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ พระองค์ถูกจับสำเร็จโทษ๒๔. พระอาทิตยวงศ์
      ทรงเป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเชษฐาธิราช มีพระชนมายุได้ ๑๐ พรรษา ได้รับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ได้เพียง ๑ เดือน คือเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ.๒๑๗๒ ถูกเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (เจ้าฟ้าปราสาททอง) ยึดอำนาจราชวงศ์ปราสาททอง
๒๕.สมเด็จเจ้าฟ้าปราสาททอง
      ทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ปราสาททองอันเป็นราชวงศ์ที่ ๕ ของอยุธยา ทรงเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระเจ้า ทรงธรรม รับราชการมหาดเล็ก ของพระเอกทศรถ และเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในกรมวังเป็นเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ต่อมาได้ยึดอำนาจจาก พระอาทิตยวงศ์และสถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นกษัตริย์เมื่อพระชนมายุ ๓๐ พรรษา พระองค์ครองราชย์อยู่ ๒๗ ปี (พ.ศ.๒๑๗๒-๒๑๙๙)๒๗.เจ้าฟ้าไชย
      ทรงเป็นโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้าปราสาททอง ครองราชย์ได้เพียง ๒ วัน (๗-๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๑๙๙) ถูกพระนารายณ์ (พระอนุชา) ร่วมกับพระศรีสุธรรรมราชา ทำการยึดอำนาจและประหารชีวิต๒๗.พระศรีสุธรรมราชา
      ทรงเป็นอนุชาของสมเด็จเจ้าฟ้าปราสาททอง และเป็นพระเจ้าอาของเจ้าฟ้าไชย อยู่ในราชสมบัติได้เพียง ๒ เดือน ๑๘ วัน พระนารายณ์ก็ชิงราชสมบัติและประหารพระศรีสุธรรมราชา๒๘.สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
      พระนารายณ์เป็นโอรสของพระเจ้าปราสาททอง เมื่อพระราชบิดาสวรรคต พระนารายณ์ทรงร่วมกับ พระเจ้าอา(พระศรีสุธรรมราชา) ชิงราชสมบัติจากพระเชษฐา(เจ้าฟ้าไชย)และต่อมาทรงยึดอำนาจจาก พระศรีสุธรรมราชา แล้วจึงสถาปนาพระองค์ "ปราบดาภิเษก"เป็น กษัตริย์อยุธยา ในสมัยพระนารายณ์ ถือได้ว่ากรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองถึงขีดสุดทรงติดต่อสัมพันธ์กับชาวต่างประเทศ แต่ผลของการดำเนินนโยบาย ที่ล่อแหลมของพระองค์ และทรงหันไปนับถือ คริสต์ศาสนา ทำให้บรรดาขุนนางไทยและพระสงฆ์เกิดความรู้สึก ต่อต้าน ชาวต่างชาติ เมื่อพระองค์ทรงประชวร ได้แต่งตั้งให้พระเพทราชา รักษาราชการ โดยยังไม่ได้มอบราช สมบัติให้ใคร ไม่ว่าจะเป็นพระอนุชา โอรสบุญธรรมหรือพระธิดาของพระองค์ หลังจากนั้นพระเพทราชาก็ยึดอำนาจ พระปีย์(โอรสบุญธรรม) ถูกลอบสังหาร เมื่อพระนารายณ์สวรรคต ๑๑ กรกฎาคม ๒๒๓๑ พระเพทราชาก็ขึ้น ครองราชสมบัติ และพระอนุชาของพระนารายณ์คือ เจ้าฟ้าอภัยเทศและเจ้าฟ้าน้อย ถูกสำเร็จโทษจึงเป็นอันสิ้นสุด ของราชวงศ์ปราสาททอง
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
๒๙.สมเด็จพระเพทราชา
      พระองค์เป็นกษัตริย์ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง ในจังหวัดสุพรรณบุรี พระมารดาทรงเป็นแม่นมของพระนารายณ์ ในช่วงปลายสมัย สมเด็จพระนารายณ์ เมื่ออิทธิพลชาวผรั่งเศสมีมากขึ้น พระองค์ทรงเป็นศูนย์กลางของความรู้สึก ต่อต้านชาวฝรั่งเศสและคริสต์ศาสนา ช่วงที่พระนารายณ์ทรงประชวร พระองค์ได้รับแต่งตั้งให้รักษาราชการแทน และได้ยึดอำนาจ และเมื่อพระนารายณ์สวรรคต พระเพทราชาขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์มีโอรสองค์หนึ่งคือ ขุนหลวงสรศักดิ์ (พระเจ้าเสือ) ซึ่งเป็นผู้ผลักดันให้พระองค์ ขึ้นมา ยึดอำนาจจากพระนารายณ์ นอกจากนี้พระเพทราชายังมีโอรสอีก 2 องค์ คือ เจ้าพระขวัญ และตรัสน้อย เมื่อพระเพทราชาประชวร ปัญหาการสืบราชสมบัติก็เกิดขึ้นอีก๓๐.สมเด็จพระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์)
      ทรงเป็นโอรสองค์หนึ่งของพระเพทราชา แต่กล่าวกันว่าพระองค์เป็นโอรสลับของพระนารายณ์อันเกิดจากพระสนมที่เป็นเจ้าหญิงจาก เชียงใหม่ แต่เนื่องจากพระนารายณ์ทรงอับอาย กลัวดูถูกว่าต่ำต้อย ที่มีโอรสกับเจ้าหญิงที่เป็นลาวจึงยกพระเจ้าเสือ ให้เป็นบุตรบุญธรรม ของพระเพทราชา ในสมัยที่พระองค์รับราชการเป็น "หลวงสรศักดิ์" ในกรมช้าง พระองค์มีส่วนสำคัญที่ผลักดันให้พระเพทราชายึดอำนาจ และพระองค์ได้กำจัดพระอนุชาผู้มีสิทธิสืบราชสมบัติ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ทั้ง ๒ พระองค์คือ เจ้าฟ้าอภัยเทศ เจ้าฟ้าน้อย รวมทั้งโอรสบุญธรรม พระปีย์ เมื่อพระเพทราชาได้ราชสมบัติ และทรงประชวร พระเจ้าเสือก็ประหารพระเจ้าขวัญซึ่งเป็นอนุชาต่าง มารดาของพระองค์ ทำให้พระเพทราชาไม่พอใจ จึงยกราชสมบัติให้พระราชนัดดาคือ เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ และเมื่อพระเพทราชา สวรรคต เจ้าพระพิไชยสุรินทร์ไม่กล้ารับราชสมบัติ พระเจ้าเสือจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แทน๓๑.สมเด็จพระภูมินทราชา (พระเจ้าท้ายสระ)
      ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าเสือ พระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาโดยปราศจากปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติและทรงแต่งตั้ง พระอนุชา (พระเจ้าบรมโกศ) เป็นอุปราชวังหน้า พระองค์ทรงโปรดปลาตะเพียนเป็นพิเศษถึงกับมีพระราชโองการห้ามราษฎร กินปลาตะเพียน พระองค์ครองราชย์เมื่อปี พ.ศ.๒๒๕๒-๒๒๗๕๓๒.สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
      พระองค์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าเสือ และเป็นอนุชาของพระเจ้าท้ายสระ ในสมัยของพระองค์ ถือว่าเป็นสมัยของอยุธยา ที่"บ้านเมืองดี" แต่เนื่องจากพระองค์ทรงมีพระสนมหลายองค์จึงเกิดปัญหาการแย่งชิง ราชสมบัติในหมู่พระโอรส และธิดา เช่น"ฟ้าธรรมาธิเบศร์" หรือ เจ้าฟ้ากุ้ง ผู้ทรงเป็นกวีและนักปฎิสังขรณ์วัดวา อาราม ถูกข้อหา "ขบถ" เป็นชู้กับเจ้าฟ้าสังวาล พระสนมเอกของพระราชบิดา และถูกโบยจนสิ้นพระชนม์ นอกจากนี้มีพระโอรสอีกองค์คือ กรมหมื่นเทพพิพิธ ที่ถูกข้อหา"ขบถ" ถูกเนรเทศไปอยู่เกาะลังกา ต่อมาในปี ๒๓๐๐ พระเจ้าบรมโกศทรงประชวร และเมื่อสวรรคต(๑๓ เมษายน ๒๓๐๓) ก็เกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่าง พระราชโอรส ๒ องค์ คือ พระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) และพระเจ้าเอกทัศน์ (ขุนหลวงขี้เรื้อน) ๓๓.สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด)
       ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าบรมโกศ เนื่องจากพระเจ้าบรมโกศทรงเห็นว่า พระเจ้าเอกทัศน์ (พระเชษฐา) เป็นผู้ "โฉดเขลา หาสติปัญญาและความเพียรไม่ได้.." จึงทรงบังคับให้ไปบวชแล้วมอบราชสมบัติให้แก่พระเจ้าอุทุมพร แทน แต่พระองค์ทรงครองราชย์ได้เพียง ๑ เดือน ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๐๓ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงกลับมาแล้วแสดงเจตจำนงให้เห็นว่าพระองค์ต้องการราชสมบัติ เจ้าฟ้าอุทุมพรเลยถวาย ราชสมบัติให้ แล้วเสด็จออกผนวช ณ วัดประดู่ทรงธรรม๓๔.สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ (พระที่นั่งสุริยาอัมรินทร์หรือขุนหลวงขี้เรื้อน)
       พระเชษฐาของพระเจ้าอุทุมพร การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าเอกทัศน์เป็นเหตุให้บรรดาขุนนาง ข้าราชการที่ดีมีความรักบ้านเมือง ลาออกจากราชการไปบวชและย้ายไปอยู่ตามชนบทเป็นจำนวนมาก ราชสำนักจึงเต็มไปด้วยขุนนางที่อ่อนแอ ประจบสอพลอ และในที่สุด กรุงศรีอยุธยาก็อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรมและอ่อนแอ พระองค์ครองราชสมบัติอยู่ได้ ๙ ปี ก็เสียกรุงให้แก่พม่า เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักรอยุธยา ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมายาวนานถึง ๔๑๗ ปี  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น