หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม        รายวิชา  ส ๒๑๑๐๓  ประวัติศาสตร์ ๑    
ชั้น  มัธยมศึกษาปีที่  ๑                                                                  ภาคเรียนที่  ๑  ปีการศึกษา  ๒๕๕๗
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๑                    ชื่อหน่วย  เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์         เวลา  ๕  ชั่วโมง                    แผนการจัดการเรียนรู้ที่           เรื่อง  การนับและการเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ            เวลา  ๒  ชั่วโมง
สอนวันที่  ๑๔ – ๒๗  พฤษภาคม  ๒๕๕๗                                    ชื่อผู้สอน          
 


๑.  เรื่อง  การนับและการเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ           
๒.  เป้าหมายการเรียนรู้
     ๒.๑.  มาตรฐานการเรียนรู้ 
   มาตรฐาน  ส  ๔.     เข้าใจความหมายและความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 
สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ  อย่างเป็นระบบ
     ๒.๒.  ตัวชี้วัด
   ม. ๑/๑                  วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์
   ม. 1/2                   เทียบศักราชตามระบบต่างๆ  ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์
     ๒.๓.  จุดประสงค์การเรียนรู้
   ๒.๓.๑.  ด้านความรู้  
          ๒.๓.๑.๑.  นักเรียนสามารถอธิบายความหมาย  และความสำคัญของเวลาและช่วงเวลา
              ทางประวัติศาสตร์ได้
๒.๓.๑.๒.  นักเรียนสามารถอธิบายที่มาของศักราชที่ปรากฏอยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์
         ที่ใช้ในการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
๒.๓.๑.๓.  นักเรียนสามารถนับและเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ  จากเหตุการณ์หรือข้อมูลใน
              การศึกษาประวัติศาสตร์ได้
  ๒.๓.๒.  ด้านทักษะ
                   ๒.๓.๒.1.  ทักษะการคิดวิเคราะห์
                   ๒.๓.๒.2.  ทักษะการแสดงความคิดเห็น
                   ๒.๓.๒.3.  ทักษะการทำงานกลุ่ม
                   ๒.๓.๒.๔ทักษะการสืบค้นข้อมูล
  ๒.๓.๓.  ด้านคุณลักษณะ
          ๒.๓.๓.๑.  มีวินัย
          ๒.๓.๓.๒.  ใฝ่เรียนรู้
          ๒.๓.๓.๓.  มุ่งมั่นในการทำงาน
  ๒.๓.๔.  ด้านสมรรถนะ  (คร่อมวิชา)
          ๒.๓.๔.๑.  ความสามารถในการสื่อสาร
          ๒.๓.๔.๒.  ความสามารถในการคิด  
          ๒.๓.๔.๓.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  
๓.  สาระสำคัญ  /  ความคิดรวบยอด 
ศักราช  คือ  อายุของเวลาที่สามารถบอกได้ถึงยุคสมัยของเหตุการณ์ต่างๆ  ได้อย่างชัดเจน                            ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์  เพราะการนับศักราชจะทำให้ผู้ที่ศึกษาสามารถเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ  ได้ตรงกัน  โดยศักราชที่ใช้อยู่ในประเทศไทยมีอยู่หลายรูปแบบ  ได้แก่  พุทธศักราช  (พ.ศ.)                    จุลศักราช  (จ.ศ.)  มหาศักราช  (ม.ศ.)  และรัตนโกสินทร์ศก  (ร.ศ.)  รวมถึงยังมีศักราชที่เป็นศักราชแบบสากล  ได้แก่ คริสต์ศักราช  (ค.ศ.)  และฮิจเราะห์ศักราช  (ฮ.ศ.) 
๔.  ความเข้าใจที่คงทน  /  ฝังแน่น
          ศักราชแบบพุทธศักราช  (พ.ศ.)  มีอายุมากกว่าศักราชอื่น  ดังนั้นการเทียบศักราชจากพุทธศักราชเป็นศักราชอื่นจึงต้องนำไปลบกับเกณฑ์การเทียบศักราชนั้นๆ  ส่วนศักราชอื่นมีอายุน้อยกว่าพุทธศักราช                การเทียบศักราชจากศักราชอื่นมาเป็นพุทธศักราชจึงต้องนำมาบวกกับเกณฑ์การเทียบศักราชนั้นๆ 
๕.  สาระการเรียนรู้แกนกลาง
๕.1.  ความสำคัญของเวลา  และช่วงเวลาสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์
๕.๒.  ตัวอย่างการใช้เวลา  ช่วงเวลาและยุคสมัยที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย
๕.๓ที่มาของศักราชที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย  ได้แก่  จ.ศ. / ม.ศ. / ร.ศ. / พ.ศ. / ค.ศ.  
        และ ฮ.ศ.
๕.๔.  วิธีการเปรียบเทียบศักราชต่างๆ  และตัวอย่างการเทียบ
๖.  คำถามท้าทาย
         ๖.๑.  เหตุใดจึงนิยมเทียบศักราชจึงต้องยึดศักราชแบบพุทธศักราช  (พ.ศ.)  เป็นเกณฑ์ในการเทียบ
         ๖.๒.  เหตุใดศักราชแบบสากลจึงมีเพียง  ๒  ศักราช
         ๖.๓.  ศักราชใดที่มีอายุมากที่สุดและน้อยที่สุด
๗.  กิจกรรมการเรียนรู้
ใช้การจัดการเรียนรู้  รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการเรียนรู้  4  MAT  Approach
ชั่วโมงที่  ๑
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 
     ๑.  ขั้นสร้างประสบการณ์
          -  ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่  ๑  เรื่อง  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
-  ครูใช้วิธีสุ่มนักเรียนเพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน  โดยให้นักเรียนใช้ความคิดของตนเองตามความเข้าใจ  ตามประเด็นดังนี้ 
Ä  ทำไมเราถึงต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ 
Ä  ประวัติศาสตร์มีความสำคัญกับเราอย่างไร
     ๒.  ขั้นวิเคราะห์ประสบการณ์
-  ครูอธิบายเสริมถึงความสำคัญของการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ทั้งในอดีต  ปัจจุบัน  และอนาคต  พร้อมให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น

Ä  เวลาและช่วงเวลามีความสำคัญต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อย่างไร
Ä  ศักราช  คืออะไร
Ä  การเทียบศักราชมีประโยชน์อย่างไรในการเรียนประวัติศาสตร์
ขั้นสอน
     ๓.  ขั้นพัฒนาประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอดหรือแนวคิด
-  ครูเปิดสื่อ  Power  Point  แสดงอักษรย่อของศักราชแบบต่างๆ  แล้วให้นักเรียนช่วยกันอ่านเป็นคำเต็มที่ถูกต้อง 
-  ครูบรรยายความรู้  พร้อมเปิดสื่อ  Power  Point  เกี่ยวกับที่มาของการนับและวิธีการเปรียบเทียบศักราชแบบต่างๆ  ทั้งการนับศักราชแบบสากล  และการนับศักราชแบบไทย
ขั้นสรุป
     ๔.  ขั้นพัฒนาความรู้ความคิด
-  ครูให้นักเรียนทำการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ  ที่เกี่ยวกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีการระบุถึงศักราชต่างๆไว้  มา  ๑  เรื่อง  หรือ  ๑  เหตุการณ์  ตามความสนใจ  แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาสรุปลงในใบงานที่  ๑.๑  เรื่อง  เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ทางศักราช  ( ตอนที่  ๓ )
ชั่วโมงที่  ๒

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
     ๕.  ขั้นปฏิบัติตามแนวคิดที่ได้เรียนรู้
          -  ครูทำการทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน  พร้อมทั้งนำเสนอเรื่องราว  หรือยกตัวอย่างเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มีการระบุหรือใช้ศักราชรูปแบบต่างๆไว้  ๑  เรื่อง  จากนั้นครูให้นักเรียนร่วมกันแสดงวิธีคิดการเทียบศักราชตามลักษณะของเรื่องราว  หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ครูนำเสนอ
ขั้นสอน 
     ๖.  ขั้นสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง
         -  ครูให้นักเรียนทำใบงานที่  ๑.๑  เรื่อง  เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ทางศักราช                     ( ตอนที่  ๑ – ๒ )
     ๗.  ขั้นวิเคราะห์ผลงานและแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้
          -  ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  และร่วมกันหาคำตอบที่ถูกต้องจากใบงานที่  ๑.๑                     เรื่อง  เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ทางศักราช
ขั้นสรุป
     ๘.  ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้คิด
         -  ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  ดังประเด็นต่อไปนี้                          
                                Ä  ถ้าเราไม่มีการเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของเวลาและช่วงเวลา  จะก่อให้เกิดผลเสียอย่างไร
                             Ä  ถ้าเราไม่นำหลักการเทียบศักราชมาใช้ศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ผลที่ตามมาจะมีอะไรบ้าง
         -  ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถาม  หรือแสดงความคิดเห็นอื่นๆเพิ่มเติม


๘.  สื่อ  /  อุปกรณ์  และแหล่งการเรียนรู้
        ๘.๑.  สื่อการเรียนรู้  /  อุปกรณ์
๘.๑.๑.  หนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑
๘.๑.๒.  สื่อ  Power  Point  เรื่อง  การนับและการเทียบศักราช
๘.๑.๓.  ใบงานที่  ๑.๑  เรื่อง  เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ทางศักราช 
๘.๑.๔.  แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่  ๑  เรื่อง  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
        ๘.๒.  แหล่งการเรียนรู้
              ๘.๒.๑.  ห้องสมุด
               ๘.๒.๒.  สื่อ  Internet
๙.  การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์การประเมิน
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๑  เรื่อง
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๑  เรื่อง
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
มากกว่าร้อยละ  ๕๐  ดีเยี่ยม
นักเรียนทำใบงานที่  ๑.๑
เรื่อง  เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์  และความสัมพันธ์ทางศักราช
ใบงานที่  ๑.๑
เรื่อง  เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์  และความสัมพันธ์ทางศักราช
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ  ๗๐
ครูประเมินพฤติกรรม
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
แบบประเมินพฤติกรรม
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
๒๐  –  ๑๕  ผ่านเกณฑ์



กิจกรรมเสนอแนะ
           ๑.  ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น  ๖  กลุ่ม  เพื่อดำเนินการจัดทำแผนภาพความรู้เกี่ยวศักราชต่างๆ  กลุ่มละ  ๑  ศักราช  ลงในกระดาษวาดเขียน  พร้อมระบุที่เนื้อหาคร่าวๆ  เกี่ยวกับการนับและการเทียบศักราช
           ๒.  ครูให้นักเรียนศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับศักราชแบบต่างๆ  พร้อมสุ่มตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนตามความเข้าใจ
บันทึกความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงก่อนสอน
           นักศึกษามีความกระตือรือร้น  ใส่ใจในการติดต่อครูพี่เลี้ยงล่วงหน้าก่อนการเริ่มเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  เพื่อรับเนื้อหามาใช้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้  และมีการนำแผนการจัดการเรียนรู้มาให้ครูพี่เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องก่อนการนำไปใช้จริง  ๑  สัปดาห์ 
           แผนการสอนมีองค์ประกอบครบถ้วน  มีกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้ที่น่าสนใจ  รวมถึงมีการนำทฤษฎีประยุกต์สำหรับการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมาใช้เหมาะสำหรับนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนจริง

                                                                         
                                                                          ลงชื่อ  ...................................................................
                                                                                ( ……………………………….. )
                                                                               วันที่…………………………………………..
บันทึกความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงหลังสอน
           นักศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนของแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้  ด้านนักเรียนสามารถตอบคำถาม  ให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้  และสามารถทำกิจกรรมใบงานที่ครูมอบหมายได้ถูกต้อง              ด้านนักศึกษามีเทคนิคในการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย  รวมถึงมีการใช้สื่อในชั้นเรียนที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

                                                                         
                                                                          ลงชื่อ  ...................................................................
                                                                                ( ……………………………….. )
                                                                               วันที่…………………………………………
บันทึกผลหลังสอน
        ผลการสอน
สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ที่  ๑  ได้จัดทำตามองค์ประกอบของโรงเรียนจ่านกร้อง  โดยมีการนำ          ทฤษฎีการสอนมาประยุกต์ใช้  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน  นั้นคือ  รูปแบบการเรียนการสอน                  แบบวัฏจักรการเรียนรู้  4  MAT  ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน 
ในด้านการนำไปปรับใช้  พบว่ามีปัญหาในด้านของความไม่พร้อมของสื่อการสอน  อาทิ  คอมพิวเตอร์  ระบบสายไฟ  หรือระบบโปรเจคเตอร์ในบางชั้นเรียนที่มีความชำรุด  ไม่สามารถใช้การได้  ซึ่งมีเพียงส่วนน้อย              และอีกปัญหาหนึ่งคือระบบการเชื่อมต่อสื่อต่างๆ  แต่ละชั้นเรียนนั้นมีความแตกต่างกัน  ทำให้เสียเวลาในคาบแรกเพราะต้องศึกษาทำความเข้าใจด้านการเปิดใช้งานของสื่อต่างๆ  จึงอาจส่งผลให้การจัดการสอนต้องมีความกระชับในด้านเวลาเพิ่มมากขึ้น 
ในส่วนของนักเรียน  พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ  ๙๕  จากการสังเกต  นักเรียนให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้ได้ดี  มีการตอบสนองต่อการเรียนรู้ทุกครั้ง  และนักเรียนสามารถอธิบายสิ่งต่างๆ  จากคำถามที่ครูถามได้ถูกต้อง  และนักเรียนมีความรับผิดชอบในภาระงานที่มอบหมายเป็นอย่างดี


                                                                          ลงชื่อ  ...................................................................
                                                                                ( ……………………………….. )
                                                                               วันที่…………………………………………..
       แนวทางการแก้ไข
        ๑.  ครูต้องศึกษาระบบการใช้งานของสื่อในชั้นเรียนล่วงหน้า  เพราะจะได้ทราบถึงระบบการเปิดใช้งานที่ถูกต้อง  รวดเร็ว  ไม่เสียเวลาในการจัดเตรียมสื่อในชั่วโมงเรียน
        ๒.  ครูมีการวางแผนสำรองในกรณีการสอนที่ไม่อาจใช้สื่อการสอนประกอบการเรียนได้  โดยอาจใช้เทคนิค ในการให้นักเรียนทำการศึกษาด้วยตนเองพร้อมมีกิจกรรมกลุ่มเสริมตามความเหมาะสม  หรือการสอนโดยใช้หนังสือเป็นองค์ประกอบหลัก
        ๓.  ครูใช้บทลงโทษทันทีในกรณีที่พบว่ามีนักเรียนไม่กระทำตามกติกา  หรือข้อตกลงในชั้นเรียน  เพื่อเป็น  การเสริมแรงกระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น


                                                                          ลงชื่อ  ...................................................................
                                                                                ( ……………………………….. )
                                                                               วันที่…………………………………………..



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น