หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม                    รายวิชา  ส ๒๑๑๐๓  ประวัติศาสตร์ ๑           
ชั้น  มัธยมศึกษาปีที่  ๑                                                                ภาคเรียนที่  ๑    ปีการศึกษา  ๒๕๕๗
หน่วยการเรียนรู้ที่  ๑         ชื่อหน่วย  เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์         เวลา  ๕  ชั่วโมง                    แผนการจัดการเรียนรู้ที่    เรื่อง  ตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์            เวลา  ๑  ชั่วโมง
สอนวันที่  ๒๘  พฤษภาคม  -  ๓  มิถุนายน  ๒๕๕๗                          ชื่อผู้สอน         


๑.  เรื่อง  ตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์            
๒.  เป้าหมายการเรียนรู้
     ๒.๑.  มาตรฐานการเรียนรู้ 
   มาตรฐาน  ส  ๔.     เข้าใจความหมายและความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ 
สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ  อย่างเป็นระบบ
     ๒.๒.  ตัวชี้วัด
   ม. ๑/๑                  วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์
   ม. ๑/                  เทียบศักราชตามระบบต่างๆ  ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์
     ๒.๓.  จุดประสงค์การเรียนรู้
   ๒.๓.๑.  ด้านความรู้  
๒.๓.๑.๑.  นักเรียนสามารถอธิบายวิธีการเปรียบเทียบศักราชในแบบต่างๆ  ได้
๒.๓.๑.๒.  นักเรียนสามารถเปรียบเทียบการใช้ศักราชของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในแต่ละ
                   ประเภท  และในแบบต่างๆ  ได้อย่างถูกต้อง
๒.๓.๑.๓.  นักเรียนสามารถยกตัวอย่างการใช้ศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยได้
  ๒.๓.๒.  ด้านทักษะ
                   ๒.๓.๒.1.  ทักษะการคิดวิเคราะห์
                    ๒.๓.๒.2.  ทักษะการแสดงความคิดเห็น
                    ๒.๓.๒.๓ทักษะการสืบค้นข้อมูล
  ๒.๓.๓.  ด้านคุณลักษณะ
๒.๓.๓.๑.  ใฝ่เรียนรู้
                     ๒.๓.๓.๒.  มุ่งมั่นในการทำงาน
  ๒.๓.๔.  ด้านสมรรถนะ  (คร่อมวิชา)
          ๒.๓.๔.๑.  ความสามารถในการสื่อสาร
          ๒.๓.๔.๒.  ความสามารถในการคิด  
          ๒.๓.๔.๓.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  

๓.  สาระสำคัญ  /  ความคิดรวบยอด 
          หลักฐานประวัติศาสตร์ที่ค้นพบและใช้ศึกษาอยู่ในปัจจุบัน  มักมีการใช้ศักราชที่มีความแตกต่างกัน             ของแต่ละยุคสมัย  ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์  จึงต้องมีการศึกษาหลักฐานทางประศาสตร์ควบคู่กันไป              เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจและจดจำความเป็นมาหรือเรื่องราวต่างๆ  ได้ง่ายยิ่งขึ้น  ดังนั้นความรู้เรื่องการเทียบศักราชจึงมีความจำเป็นต่อการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์  เพื่อเปรียบเทียบหลักฐานต่างๆ           ให้เป็นศักราชปัจจุบันที่สามารถเข้าใจได้ตรงกัน
๔.  ความเข้าใจที่คงทน  /  ฝังแน่น
          ๔.๑.  ศักราชที่มีอายุมากที่สุดที่พบในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย  คือ  มหาศักราช  ซึ่งพบมากที่สุดในสมัยสุโขทัย  อาทิ  ศิลาจารึกสุโขทัย  หรือจารึกต่างๆ
          ๔.๒.  ศักราชแบบพุทธศักราชเริ่มใช้ครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่  ๖  (วันที่  ๒๑  กุมภาพันธ์  พ.ศ.  ๒๔๕๕) 
๕.  สาระการเรียนรู้แกนกลาง
๕.1.  วิธีการเปรียบเทียบศักราชต่างๆ  และตัวอย่างการเทียบ
๕.๒.  ตัวอย่างการใช้ศักราชต่างๆ  ที่ปรากฏในเอกสารประวัติศาสตร์ไทย
๖.  คำถามท้าทาย
         ๖.๑.  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น  (จังหวัดพิษณุโลก)  ที่พบมีความเกี่ยวข้องกับศักราชใดบ้าง
         ๖.๒.  ถ้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่มีการระบุถึงศักราช  เราต้องทำอย่างไรจึงจะทราบว่าเรื่องราว
                หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วงปีใด
๗.  กิจกรรมการเรียนรู้
ใช้การจัดการเรียนรู้  รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง 
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 
     ๑.  ขั้นเตรียม
-  ครูทำการทบทวนความรู้ของนักเรียนเกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของเวลาและช่วงเวลาสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์  การนับและการเทียบศักราชแบบต่างๆ 
-  ครูเปิดภาพหลักฐานทางประวัติศาสตร์  จากสื่อ  Internet  แล้วให้นักเรียนช่วยกันอภิปรายร่วมกัน              ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร  มีความสำคัญอย่างไร  เช่น  ภาพศิลาจารึกในสมัยสุโขทัย  พงศาวดาร  หรือบันทึก                                       ทางประวัติศาสตร์ไทย  ฯลฯ
ขั้นสอน
     ๒.  ขั้นเสนอกรณีตัวอย่าง
-  ครูอธิบายความรู้  เรื่องตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย  โดยให้นักเรียนเปิดหนังสือประวัติศาสตร์  ม. ๑  ควบคู่ไปกับการฟังครูอธิบาย
     3.  ขั้นวิเคราะห์
-  ครูให้นักเรียนร่วมกันเปรียบเทียบการใช้ศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย  ว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยยุคสมัยใดนิยมใช้ศักราชประเภทไหน  เช่น  ศิลาจารึกสมัยกรุงสุโขทัยจะใช้ศักราชประเภท            มหาศักราช  และพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาจะใช้ศักราชประเภทจุลศักราช  เป็นต้น
-  ครูสุ่มถามนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยว่าศักราชที่เก่าแก่ที่สุด               ที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยคือศักราชใด
ขั้นสรุป
     ๔.  ขั้นสรุป  /  ๕.ขั้นประเมินผล
-  ครูเปิดสื่อ  Power  Point  นำเสนอตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยให้นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม  พร้อมทั้งร่วมกันเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
๘.  สื่อ  /  อุปกรณ์  และแหล่งการเรียนรู้
๘.๑.  สื่อ  /  อุปกรณ์
๘.๑.๑.  หนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๑
๘.๑.๒.  ภาพหลักฐานทางประวัติศาสตร์
๘.๑.๓.  สื่อ  Power  Point  นำเสนอตัวอย่างศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย
        ๘.๒.  แหล่งการเรียนรู้
              ๘.๒.๑.  ห้องสมุด
               ๘.๒.๒.  สื่อ  Internet
­๙.  การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ
เครื่องมือ
เกณฑ์การประเมิน
ครูประเมินพฤติกรรม
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
แบบประเมินพฤติกรรม
การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
20 – 15  ผ่านเกณฑ์


กิจกรรมเสนอแนะ
           ๑.  ครูจัดกิจกรรมทัศนศึกษาให้นักเรียนทำการศึกษาข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์                  ที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  (ส่วนวังจันทน์)  หรือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
           ๒.  ครูให้นักเรียนทำการสืบค้นข้อมูลและค้นหาภาพเกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ตนเองสนใจ     ที่มีการระบุถึงศักราช  มาคนละ  ๑  ชนิด
บันทึกความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงก่อนสอน
           นักศึกษามีการจัดทำแผนการสอนล่วงหน้า  และนำส่งก่อนนำไปปรับใช้จริง  โดยแผนการจัดการเรียนรู้           มีองค์ประกอบครบถ้วน  เหมาะกับการนำไปใช้สอนได้จริง  มีการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและรูปแบบการสอนที่เป็นประโยชน์  คือ  รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง  นักศึกษามีความรับผิดชอบ  และมีการเตรียมพร้อมต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
            

                                                                          ลงชื่อ  ...................................................................
                                                                                ( ……………………………….. )
                                                                               วันที่…………………………………………..
บันทึกความคิดเห็นของครูพี่เลี้ยงหลังสอน
           แผนการจัดการเรียนรู้นี้นักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง  ตามขั้นตอนที่ระบุไว้  ด้านการจัดการเรียนรู้นักศึกษามีเทคนิคในการสอนที่หลากหลาย  สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ดี  นักเรียนสามารถจัดทำกิจกรรมใบงาน           ที่ครูมอบหมายได้ถูกต้อง  นักศึกษาสามารถนำสื่อการเรียนต่างๆมาใช้ประกอบการสอน  ซึ่งมีความน่าสนใจ  สามารถเอื้อประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ดี                                                                                 
                                                                         

ลงชื่อ  ...................................................................
                                                                                ( ……………………………….. )
                                                                               วันที่…………………………………………..

บันทึกผลหลังสอน
        ผลการสอน
สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ที่  ๒  ได้จัดทำตามองค์ประกอบของโรงเรียนจ่านกร้อง  โดยมีการนำ          ทฤษฎีการสอนมาประยุกต์ใช้  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนักเรียน  นั้นคือ  รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง  ที่เน้นให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างเด่นชัด  ในแง่ของการเห็นภาพตัวอย่างที่ถูกต้อง 
ในด้านการนำไปปรับใช้  สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้  แต่ต้องทำการสอนอย่างกระชับ  เนื่องจากใช้เวลาเพียง  ๑  คาบ  ซึ่งในระหว่างการจัดการเรียนรู้อยู่ยังมีนักเรียนที่มีความสงสัย  หรือให้ความสนใจในการสอบถามข้อมูลอื่นๆ  เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  ดังนั้นครูจึงต้องใช้เวลาให้คุ้มค่า  เพื่อให้เนื้อหามีความครอบคลุม  และยังสามารถชี้แนะข้อสงสัยให้กับผู้เรียนได้ 
­           ด้านนักเรียน  ให้ความสนใจต่อสื่อ  Power  Point  ที่นำมาใช้ประกอบการสอนเป็นอย่างดี  เนื่องจากสื่อนี้มีการนำรูปภาพของหลักฐานทางประวัติศาสตร์จริงมาแสดงประกอบ  ซึ่งไม่มีอยู่ในหนังสือเรียนฯ  จึงทำให้นักเรียนสนใจ  และให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนรู้
           ส่วนปัญหาที่พบ  คือ  กรณีของนักเรียน  (เรียนร่วม)  อาจจะยังเรียนรู้ได้ช้า  และทำงานได้ช้ากว่านักเรียนปกติ  และสื่อบางห้องเรียนไม่สามารถใช้งานได้


                                                                          ลงชื่อ  ...................................................................
                                                                                ( ……………………………….. )
                                                                               วันที่…………………………………………..
       แนวทางการแก้ไข
           จากปัญหาที่พบ  มี  ๒  กรณี  คือ 
           ๑.  ปัญหาความไม่พร้อมของสื่อ  ที่ไม่สามารถใช้งานได้ในบ้างห้องเรียน  เบื้องต้นข้าพเจ้าได้ทำการแก้ไขด้วยตนเองในกรณีที่สามารถแก้ไขได้  คือ  การปริ้นรูปภาพนำมาใช้ประกอบการสอนแทนการใช้สื่อ  Power  Point  ซึ่งหากไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองจะนำเรื่องไปรายงานกับครูพี่เลี้ยง  เพื่อขอคำแนะนำต่างๆ  ในการดำเนินการแก้ไขสื่อต่อไป
           ๒.  กรณีเด็กนักเรียนเรียนร่วม  ข้าพเจ้าได้จัดที่นั่งใหม่โดยให้นักเรียนเรียนร่วมได้นั่งคู่กับเพื่อนนักเรียน            ที่มีความสามารถ  หรืออาสาสมัคร  เพื่อให้เพื่อนักเรียนดังกล่าวคอยช่วยเหลือระหว่างเรียนในเบื้องต้น  จากนั้นข้าพเจ้าพยายามจัดการเรียนรู้ตามปกติ  แต่จะเน้นย้ำประเด็นที่สำคัญอย่างกระชับ  และในช่วงพักเที่ยงจะให้นักเรียนเรียนร่วมไปพบที่ห้องพักครู  เพื่อสอบถามความเข้าใจ  และจัดการสอนพิเศษให้กับนักเรียนเรียนร่วม 
                                                                    

     ลงชื่อ  ...................................................................
                                                                                ( ……………………………….. )

                                                                               วันที่…………………………………………..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น